Sunday, June 16, 2019

Faculty of Fine Arts : CHIANGMAI UNIVERSITY










Faculty of Fine Arts ChiangMai UNIVERSITY 


Egyptian painter prof. Ibrahim Ghazala. Ibrahim Ghazala is an Egyptian visual artist, painter, professor of art and writer, known for his typical style and rich warm colors. His works of art faithfully depict the Egyptian landscape, the beauty he sees in nature, and his passion for color. He graduated from the Faculty of Fine Arts in Cairo; nowadays he is an assistant professor at the Faculty of Fine Arts in Minya. Ghazala has repeatedly exhibited independently and participated in collective exhibitions in several European and Arab countries. His paintings have found a way to various museums in Egypt and private collections in Egypt and abroad.







Prof. Ibrahim Ghazala in ChiangMai 



Meet up with A. Chaiyot Chantratita

                                   Janine Yasovant MPA. writer 



I had a chance to observe workshops of two female art lecturers from TAMA Art University Japan (in cooperation with printmaking: FOFA CMU). They came to demonstrate the art of printmaking at the faculty of Fine Arts, Chiang Mai University Chiang Mai, Thailand. I also went to an exhibition that was a collaboration between two universities. I went there as the observer for a few days.

Chaiyot Chandratita sent me a short article containing a famous quote from the German artist Gerhard Richter: “Art is not a product of coincidence. The coincidence in itself cannot be the art." I remembered that I was a bit confused about the differences between painting and printmaking.


While observing art lessons and printmaking activities, it appeared that the university provides full support for printmaking as much as other kinds of art. Compared to normal painting, I find that the steps of printmaking are rather complicated and use a lot of tools.






This time I came to visit the Printmaking studio of Chiang Mai University and see the collaboration with universities from foreign countries. I really hope that readers will understand and appreciate the art of printmaking which can be learned endlessly.




Here is a short interview with Chaiyot Chandratita:



JY: Please tell us briefly about the division of Printmaking, at the faculty of Fine Arts, Chiang Mai University.



CC: At the present Chiang Mai University has 20 faculties. The faculty of Fine Arts is the 12th faculty. It was established in 1983 with only Fine Arts and Thai Art divisions. In 1985 the faculty opened the division of Printmaking. In 2012 there was a major change in the curriculum by reducing the total academic years from 5 to 4 years. Main principles of Printmaking’s creation were completely retained but obsolete classes and procedures were removed out of the syllabus. The main focus now is the balancing the development of techniques, thinking paradigms and learning skills of the 21st century under a contemporary context.






JY: What do you think about lecturers and graduate students of the Faculty of Fine Arts?



CC: In my view, they could create plenty of marvelous works in international standards by setting up art exhibitions. Many received honorable awards from Thailand and foreign countries. I would like to introduce Associate Professor Thongchai Yukantapornpong, a lecturer in the Printmaking division He received a scholarship for a research project in Art and Creative Works from the National Research Council of Thailand. As a printmaking artist, I was honored to take part in the activity and created “Doi Suthep Chiang Mai 2015."





It is a woodblock print using watercolor technique in Japanese style and its size is 30x45 cm. I used 11 woodblocks and 19 colors.





That research project was a good example of academic advances. It also pushed cooperation for teamwork among many people including the director, lecturers, students, artists and printmaking artists. Apart from valuable submitted artworks from the artists group in the project, academic networks in national and international were set up soon after. There was an exhibition of printmaking between groups of students and lecturers from both the faculty of Fine Arts, Chiang Mai University and TAMA Art University Japan. This is also a celebration of the 30th anniversary of of the founding of the faculty of Fine Arts in 2015.       






JY: I would like to know about your role as a lecturer.  









Chaiyot: I was born in April 1959. I received Bachelor’s and Master’s degrees in Printmaking from Silpakorn University in Bangkok. In 1988 I travelled to Chiang Mai and worked as a guest lecturer for a few years. From 1991 to the present, I have been teaching in the division of Printmaking. During my career, I was assigned to administrative positions such as head of the division, head of the department , assistant dean, vice dean and the director of Chiang Mai University Art Museum. It is challenging for me to be a part of the founding of a new division which is called the division of Multidisciplinary Art. This division is headed by Professor Araya Ratchamroensuk. She is the first and current president of the curriculum management department. She is also a printmaking artist who has more experiences and fame in Thailand and abroad. But for me, even though I make some notable pieces of artwork throughout these years, I tend to focus mainly on my work as a lecturer. I am so lucky to work with these colleagues and students as they always come up with new and interesting ideas. In my opinion, the works and success of my students are the real proof of my achievement as a lecturer in the faculty of Fine Arts, Chiang Mai University.


JY: Is there anything you want to tell our readers?




CC: My 30 years as a printmaking artist began with the beauty, the serenity of forests and mountains which gave me some touching inspirations. I also adapted the principles of Buddhism to connect with the ways of artistic creation and living under social contexts that contained both desirable and undesirable things. This could point towards decreasing, abandoning and giving up as well as escaping or grabbing something. It is not important to be scolded or complimented any longer but rather to gain the true understanding of giving, being and living in the present. Art is the sending of good intentions that will not separate oneself from friends and societies. People should begin with themselves appropriately first, and then all of their creations can use some materials and contents from nature. These could be good for the inspiration to study and interpret good internal abstract concepts and also remove a blocking line of personal identities and language limitations. Someone once said that writing cannot convey meaning in the same way as speaking. The speaking cannot express meaning and experiences as well as it can portray something in the mind.












อาจารย์ไชยยศ จันทราทิตย์ส่งบทความสั้นๆ ที่มีประโยคจากศิลปินชาว เยอรมัน แกร์ฮาร์ต ริชเตอร์ ที่มีใจความว่า “ศิลปะไม่ได้เป็นผลผลิตจากความ บังเอิญ ความบังเอิญในตัวมันเองไม่สามารถเป็นศิลปะได้” ดิฉันจำได้ว่าเคย สับสนเล็กน้อยกับความแตกต่างระหว่างภาพเขียนและภาพพิมพ์ ดิฉันเห็นภาพ เรือรบญี่ปุ่น คันรินมารุ ที่เดินทางข้ามมหาสมุทรแปซิฟิคมุ่งไปยังเมือง ซานฟรานซิสโก ในช่วงปีพ.ศ. 2403 (ศิลปิน ยูจิโร่ ซุซุฟูจิ) ดิฉันพบว่ารูปภาพ เป็นเหมือนงานภาพพิมพ์ ดิฉันชอบการเคลื่อนไหวและกระบวนการของภาพว่า มาจากภาพเขียนหรือภาพพิมพ์หรืออาจจะเป็นงานภาพพิมพ์หิน

อาจารย์ไชยยศ จันทราทิตย์พบบทความนี้ที่เขียนโดยนายโรมิวลัส ฮิลส์โบร กล่าวว่า “ผมชอบภาพวาดคันรินมารุ” อาจารย์ไชยยศเห็นด้วย ดิฉันพูดกับ ตัวเองว่าอยากรู้เรื่องราวให้มากกว่านี้ อยากทราบข้อมูลจากครอบครัวของ ศิลปิน น่าเสียดายว่าดิฉันไม่สามารถสื่อภาษาญี่ปุ่นได้

ในขณะที่สังเกตบทเรียนศิลปะและกิจกรรมการทำภาพพิมพ์ ทางมหาวิทยาลัย ได้ให้การสนับสนุนเต็มที่สำหรับงานภาพพิมพ์เช่นเดียวกับงานศิลปะชนิดอื่นๆ  เมื่อเปรียบเทียบกับงานภาพเขียน ดิฉันพบว่าขั้นตอนของงานภาพพิมพ์นั้น ค่อนข้างซับซ้อนและใช้เครื่องมือเยอะมาก

ในครั้งนี้ดิฉันมาเยี่ยมสตูดิโองานภาพพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเห็น ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยจากต่างประเทศ ดิฉันหวังว่าผู้อ่านจะเข้าใจและ ประทับใจกับศิลปะการทำภาพพิมพ์ซึ่งสามารถเรียนรู้ได้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

ต่อไปนี้เป็นการสนทนากับอาจารย์ไชยยศ จันทราทิตย์

จานีน: กรุณาเล่าให้ฟังสั้นๆเกี่ยวกับภาควิชาภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ไชยยศ: คณะวิจิตรศิลป์ เป็นคณะวิชาลำดับที่ 12 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปัจจุบันมีคณะวิชารวมทั้งสิ้น 20 คณะวิชา เปิดรับนักศึกษา รุ่นที่ 1 เมื่อปีพ.ศ. 2526 ประกอบด้วย สาขาวิชาจิตรกรรม และสาขาวิชาศิลปะไทยในปี พ.ศ.2528 สองปีถัดมาเปิดรับนักศึกษาสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ รุ่นแรก ทำการเรียนการสอนนับแต่นั้นมา ในปี 2555 มีการปรับปรุงหลักสูตรครั้งสำคัญ โดยลดระยะเวลาการศึกษาลงจาก 5 ปี เหลือ 4 ปี ที่ยังคงไว้ด้วยสาระสำคัญ หลักของกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์อย่างครบถ้วน และปรับลด กระบวนการศึกษาในชั้นเรียนที่หมดความจำเป็นอีกต่อไปสำหรับโลก ไร้พรมแดนเช่นปัจจุบัน เน้นพัฒนาการอย่างสมดุลระหว่างเทคนิค กระบวนการ ทางความคิด และทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ภายใต้บริบทศิลปะร่วม สมัย

จานีน: อาจารย์คิดอย่างไรกับคณาจารย์และบัณฑิตของคณะวิจิตรศิลป์

ไชยยศ: คณาจารย์และบัณฑิตสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ ต่างมี พัฒนาการทางวิชาการ ผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นมาตรฐานสากลอย่างประจักษ์ ด้วยการแสดงนิทรรศการผลงานศิลปกรรม การได้รับรางวัลเกียรติคุณ ทั้งใน และต่างประเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธงชัย ยุคันตพรพงษ์ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ ผู้ได้รับทุนโครงการวิจัยด้านศิลปกรรมศาสตร์และ งานสร้างสรรค์ จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เรื่อง “ภาพ พิมพ์ไม้ชุดทัศนียภาพ9 วัดสำคัญแห่งนครเชียงใหม่ (Project of Series of Chiangmai’s9 Main Temple Landscape by Woodblock Printing) ซึ่งผมได้รับเกียรติในฐานะศิลปินภาพพิมพ์ เข้าร่วมสร้างสรรค์ผลงาน ชื่อ “DoiSuthepChiangmai2015” เป็นผลงานภาพพิมพ์แม่พิมพ์ไม้ด้วยเทคนิค สีน้ำแบบญี่ปุ่น ขนาด ขนาด : 30 x 45 ซ.ม. ใช้แม่พิมพ์แม่พิมพ์  11 แม่พิมพ์ จำนวนสีที่พิมพ์  19 สี

โครงงานวิจัยดังกล่าว เป็นหนึ่งตัวอย่างความก้าวหน้าทางวิชาการ ผลักดันมิติ ความร่วมมือการทำงานเป็นทีมระหว่างบุคลากรหลายฝ่าย อาทิ ผู้บริหาร สถาบัน อาจารย์ นักศึกษา ศิลปิน และช่างพิมพ์ นอกจากผลงานสร้างสรรค์อัน ทรงคุณค่าจากเหล่าศิลปินที่เข้าร่วมโครงการฯแล้ว ทางด้านวิชาการได้ ก่อให้เกิดเครือข่ายทางวิชาการทั้งในระดับชาติและนานาชาติตามมา มีการจัด นิทรรศการผลงานภาพพิมพ์แลกเปลี่ยนระหว่างคณาจารย์และนักศึกษาของ คณะ วิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ มหาวิทยาลัยศิลปะทามะ ประเทศ ญี่ปุ่น สาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ คณะวิจิตรศิลป์ มีอายุครบรอบ 30 ปี ในปี 2558 

 จานีน:ดิฉันอยากทราบเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ในฐานะที่เป็นอาจารย์

ไชยยศ: ผมเกิดเดือนเมษายน2502 กรุงเทพฯ สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาศิลปะ ภาพพิมพ์  ระดับปริญญาตรีและโท จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ.2531 เดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่เป็นอาจารย์พิเศษ และได้รับการบรรจุเป็น ข้าราชการประจำของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534เป็นต้นมา รับผิดชอบการสอนในสาขาวิชาศิลปะภาพพิมพ์ (Division of Printmaking) ได้รับความไว้วางใจบริหารสถาบันโดยลำดับประสบการณ์เรื่อยมาในตำแหน่ง หัวหน้าสาขาวิชา หัวหน้าภาควิชา ผู้ช่วยคณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการหอ นิทรรศการศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ปัจจุบันเป็นความท้าทายทางวิชาการที่ได้ร่วมงานและมีส่วนในการก่อตั้ง สาขาวิชาใหม่ คือ สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ (Division of Multidisciplinaryart) ซึ่งริเริ่มโดยศาสตราจารย์อารยา ราษฎร์จำเริญสุข ประธานบริหาร หลักสูตรคนแรกและปัจจุบัน ซึ่งเป็นอดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะภาพ พิมพ์ เป็นศิลปินหญิงไทยผู้มีประสบการณ์ ชื่อเสียงในระดับนานาชาติอันดับต้น ของประเทศไทย ผลงานสร้างสรรค์ของตัวเองนั้นแม้จะสร้างชื่อเสียงให้อยู่บ้าง แต่ผมให้ความสำคัญในชีวิตจากการทำงาน ซึ่งได้โอกาสร่วมงานกับเพื่อนที่ มากความสามารถ แวดล้อมอยู่ด้วยนักศึกษาผู้คอยจุดประกายความคิดใหม่ๆ ผลงานของนักศึกษาจึงควรนับเป็นข้อพิสูจน์อันแท้จริงของความก้าวหน้า ความสำเร็จ ของผมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่สร้างผมมา

จานีน: มีอะไรที่อยากจะฝากไปถึงผู้อ่านบ้างไหมคะ

ไชยยศ: ระยะเวลากว่า30 ปี ของพัฒนาการผลงานสร้างสรรค์ เริ่มต้นจากความ งดงาม ความสงบที่ธรรมชาติ ขุนเขา ป่าไม้มอบสัมผัสและจินตนาการให้ ประกอบกับวิถีแห่งแนวคิด แนวปฏิบัติของพุทธธรรมได้พัฒนา งอกงาม เข้าประสานเชื่อมโยงแนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะกับการดำเนินชีวิตภายใต้ บริบททางสังคมที่มีทั้งสิ่งที่พึงประสงค์ และไม่พึงประสงค์ ให้เป็นเรื่อง ธรรมชาติ ธรรมดา มุ่งสู่การ ลด ละ เลิก การหลบหนีหรือการไขว่คว้า ติเตียน หรือชื่นชม พยายามทำความเข้าใจอย่างถูกต้องของความหมายที่ว่า “ให้ เป็น-อยู่ กับปัจจุบัน” ศิลปะคือการส่งต่อความปรารถนาดีที่ไม่แบ่งแยก ตนเองออกจากเพื่อนมนุษย์และสังคม และควรเริ่มต้นที่ตัวเองอย่างเหมาะสม เสียก่อน ผลงานทุกชิ้นใช้วัตถุและเนื้อหาจากธรรมชาติ เป็นแรงบันดาลใจเพื่อ ศึกษา ตีความขยายส่วนนามธรรมที่ดีงามในภายใน ลบเส้นแบ่งระหว่างตัวตน กับสรรพสิ่งและข้อจำกัดของภาษา “การเขียนไม่อาจให้ความหมายได้ เช่นเดียวกับการพูด คำพูดไม่อาจให้ความหมายได้ เช่นเดียวกับประสบการณ์ และไม่อาจสื่อถึงสัมผัสที่อยู่ใน ภายในจิตใจออกมาได้”




















Chaiyot Chantratita @Ibrahim Ghazala


A. Chaivut Ruamrudeekool อาจารย์ชัยวุฒิ ร่วมฤดีกูล ศิลปินและอาจารย์สาขาวิชาภาพพิมพ์ ภาควิชา ภาพพิมพ์ จิตรกรรมและประติมากรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 






















































































No comments:

Post a Comment

Besame Mucho