Monday, February 13, 2017

Melayu Day @Yala (2 )





"Melayu Day @Yala" festival was co-hosted by Consuls General of Malaysia and Indonesia in Songkhla Mohd Afandi bin Abu Bakar and Triyoko Jatmiko, the Yala Provincial Culture Office and Yala Municipality.

Mayor Pongsak Yingchoncharoen said the festival, previously entitled Malayu Day of Yala, began in 2014 to highlight Melayu culture of Yala. Immediately after its debut , the event captured the interest of various sectors which offered to be the co-organizers for the following years. The consulates of Malaysia and Indonesia in Songkhla have been playing a key role in the activity.

The event, now in its fourth year, features a seminar on Melayu culture, a kite-flying competition, an elephant parade, a Thai-Malayu speech contest, Anasyid performances, and cultural processions and cooking demonstrations from Malaysia and Indonesia to highlight the cultural harmony of Yala.

Governor Doldech Pattanarat said the festival was also expected to improve tourism and the image of the southernmost province as well as strengthen solidarity among the local people. Melayu Day@Yala will take place from 10th to 12th February at White Elephant Park, Yala Municipality.
Yala Southern THAILAND













เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา นายดลเดช พัฒนรัฐ ผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา นายโมห์ อาฟัลดี อาบูบาการ์ กงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลา นายทรีโยโก จัดมิโก้ กงสุลอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา นางสาวลิปิการณ์ กำลังชัย วัฒนธรรมจังหวัดยะลา และนายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรีนครยะลา ได้ร่วมแถลงข่าวการจัดงาน Melayu Day @ Yala ครั้งที่ 4 ระหว่าง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 กุมภาพันธ์ 2560 ณ สนามโรงพิธีช้างเผือกเทศบาลนครยะลา

นายดลเดช กล่าวว่า การท่องเที่ยวในจังหวัดยะลาเริ่มดีขึ้น โดยในปีที่ผ่านมามีนักท่องเที่ยวมายะลาประมาณ 140,000 คน มีทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศมาเลเซีย ไม่ได้มาเที่ยวเฉพาะที่อำเภอเบตง นักท่องเที่ยวได้มาท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอต่างๆและในเมืองยะลาเพิ่มมากขึ้นด้วย การจัดงาน Melayu Day @ Yala นี้ นอกจากจะเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรมมลายูแล้ว ก็จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเพื่อให้ประชาชนมีรายได้ รวมทั้งช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับจังหวัดยะลา




                                                                           

ด้านนายพงษ์ศักดิ์ เปิดเผยว่า ด้วยจังหวัดยะลาเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ประชาชนดำเนินชีวิตด้วยวิถีและวัฒนธรรมมลายูมาอย่างยาวนาน ทั้งในเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี ภาษา อาหารการกิน การแต่งกาย ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างผสมกลมกลืน เทศบาลนครยะลากำหนดให้เป็นหนึ่งในนโยบายที่เสริมสร้างความสมานฉันท์ในสังคมให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างได้อย่างสันติสุข Melayu Day @ Yala เดิมในปีแรกได้มีการร่วมคิดร่วมปรึกษากับผู้นำศาสนาอิสลาม หน่วยงานต่างๆว่าจะจัดกิจกรรมอะไรขึ้นมาเพื่อให้ยิ่งใหญ่และเป็นเอกลักษณ์ของยะลาให้กับพี่น้องคนไทยมุสลิม แต่หลังจากจัดงานครั้งแรกได้รับการยอมรับว่าเป็นงานที่น่าสนใจ และเห็นว่าจริงๆแล้วคำว่ามลายู ไม่ได้หมายถึงชาวไทยมุสลิมเท่านั้น แต่คำว่ามลายูเหมายถึงดินแดนที่อยู่ในแหลมมลายู มีประเพณีวัฒนธรรมที่โดดเด่น จึงได้ร่วมปรึกษาหารือกับท่านกงสุลใหญ่มาเลเซีย กงสุลอินโดนีเซีย ประจำจังหวัดสงขลา และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา เพื่อที่จะจัดงานด้านวัฒนธรรมมลายู ภายใต้แนวคิดการสร้างสังคมสมานฉันท์ หรือ Harmonized City ซึ่งทางกงสุลใหญ่มาเลเซียประจำจังหวัดสงขลาและกงสุลอินโดนีเซียประจำจังหวัดสงขลา ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานในครั้งนี้ด้วย

งานมลายูเดย์ @ ยะลา ในปีนี้จะมีการจัดที่ยิ่งใหญ่กว่าปีที่แล้วๆมา โดยจะมีกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ การสัมมนาโลกมลายู การแข่งขันและประกวดว่าว ขบวนแห่ช้างและวัฒนธรรมมลายู การแข่งขันด้านวิชาการ อาทิ การประกวดกล่าวสุนทรพจน์ไทย-มลายู การประกวดอนาซีด การประกวดเล่านิทานสามภาษา การประกวดเพลงคุณธรรมภาษาไทย โดยปีนี้การประกวดเพิ่มอีก 2 ประเภท คือ ประกวดดีเกร์ฮูลู ระดับประถมศึกษา และประกวด Choral Speaking ระดับมัธยมศึกษา นอกจากนี้ยังมีการแสดงจากประเทศมาเลเซีย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย สลับกันทุกคืน



ขณะที่นายโมห์ กล่าวว่า ขอขอบคุณที่ให้เกียรติมาร่วมแสดงในงานมลายูเดย์ ถือว่าเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยมาเลเซียที่ระลึกย้อนตั้งแต่ปี 1657 ปีนี้ก็ครบ 60 ปีความสัมพันธ์ไทยมาเลเซีย งานนี้ไม่เพียงเป็นการแนะนำความเป็นมลายูของคนมลายู เพราะความจริงแล้วเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ ความรักใคร่สามัคคี ความเป็นพี่น้องร่วมกัน ซึ่งเป็นที่น่ายกย่องและมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมจัดงานมลายูเดย์

ส่วนนายทรีโยโกได้กล่าวว่า ทางอินโดนีเซียจะมาร่วมงานในครั้งนี้  104 คน โดยจะมีการจัดแสดงศิลปวัฒนธรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนาฏศิลป์มลายูและศิลปะแขนงอื่นๆ องค์กรที่จะมาร่วมงานมีทั้งมหาวิทยาลัยของอินโดนีเซียรวมทั้งชมรมนักธุรกิจของอินโดนีเซีย จะมาจัดแสดงอาหารหรือกิจกรรมทางธุรกิจของอินโดนีเซียด้วยภาคภูมิใจและยินดีที่มหกรรมมลายูเดย์เกิดขึ้นที่นี่ ซึ่งการทำงานครั้งนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่มิตรภาพเท่านั้น แต่เป็นหุ้นส่วนที่จะมาทำงานนี้ด้วยกันเพื่อเชื่อมประชาคมอาเซียน

























The Malaysian call this kind of kite "Waebulae". It is made from big bamboo frame and the art of the kite comes from ancient tales. Beramas was a beautiful kite used in several ceremonies and competitions among cities in the past. This kite is the representative of southern heritage.





















Wae arong Waeno : Artist













































Mak yong or mak yung (Jawi: مق يوڠ; Thai: มะโย่ง: rtgs: ma yong) is a traditional form of dance-drama from northern Malaysia, particularly the state of Kelantan. It was banned by the Pan-Malaysian Islamic Party in 1991 because of its animist and Hindu-Buddhist roots which pre-date Islam in the Asian region by far. In 2005 UNESCO declared mak yong a "Masterpiece Of The Oral And Intangible Heritage Of Humanity". The late Cik Ning was a leading mak yong performer in the 1980s
































                                         สนุกสนานตามสไตล์ดิเกฮูลู คณะศรีปุตรียะลา(ผอ.ยูนุห์)


















No comments:

Post a Comment

Besame Mucho