Supawat Thonglamul : Artist
กำหนดการพระราชทานเพลิงศพ "พระเทพวิทยาคม หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ" วันที่ 29 ม.ค. 62
รณีกำหนดการพระราชทานเพลิงศพครูใหญ่และครูใหญ่ "พระเทพวิทยาคม หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ" ซึ่งจะมีขึ้นในวันพรุ่งนี้ 29 มกราคม 2562 เพจเฟซบุ๊ก "หนังสือพิมพ์ใต้สันติสุข" ได้กำหนดรายละเอียดว่า
เวลา 06.30 น. พระภิกษุ สามเณร พร้อมญาติครูใหญ่และแขกผู้มีเกียรติ พร้อมกัน ณ ศูนย์ประชุมอเนกประสงค์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เวลา 07.00 น. ถวายภัตตาหารเช้า
เวลา 08.45 น. แสดงพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ โดย พระพรหมมังคลาจารย์ (ธงชัย ธัมมฺธโช) ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค8 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม กรุงเทพมหานคร
เวลา 09.20 น. พิธีสวดมาติกาบังสุกุล
เวลา 09.40 น. พิธีทอดผ้าบังสุกุล
เวลา 10.30 น. ถวายภัตตาหารเพล
เวลา 13.00 น. ประธานนักศึกษาอ่านคำไว้อาลัยครูใหญ่
เวลา 13.10 น. คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ่านหมายรับสั่ง
เวลา 13.20 น. อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
เวลา 13.30 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ประธานในพิธีทอดผ้าบังสุกุล
เวลา 13.40 น. พิธีพระราชทานเพลิงศพ
หลังจากนี้ การแต่งกาย : กางเกงสีดำ เสื้อปฏิบัติธรรมคอพระราชทานสีขาวแขนยาว
เวลา 15.00 น. เคลื่อนร่างครูใหญ่ ไปยังฌาปนสถานตามวัดต่างๆ
เวลา 16.40 น. วางดอกไม้จันทน์ประทานจากพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เวลา 16.30 น. นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงสนามบินขอนแก่น)
เวลา 16.50 น. นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงฌาปนสถานชั่วคราววัดหนองแวง พระอารามหลวง ณ บริเวณด้านหลังพุทธมณฑลอีสาน จังหวัดขอนแก่น
เวลา 17.00 น. ทอดผ้าไตรบังสุกุล 9 ไตร
เวลา 17.20 น. อ่านประวัติพระเทพวิทยาคม(หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) โดย คณบดีคณะแพทยศาสตร์
เวลา 17.30 น. ทอดผ้ามหาบังสุกุล โดย นายกรัฐมนตรี
เวลา 17.45 น. พระสงฆ์และแขกผู้มีเกียรติวางดอกไม้จันทน์
เวลา 18.00 น. พิธีขอขมาพระเทพวิทยาคม (หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) และพิธีกรรมตามขนบอีสานโบราณ
เวลา 19.30 น. นายกรัฐมนตรีเดินทางออกจากฌาปนสถานชั่วคราวฯ
เวลา 19.50 น. นายกรัฐมนตรีถึงสนามบินขอนแก่น
เวลา 20.00 น. นายกรัฐมนตรี ขึ้นเครื่องบินเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
เวลา 22.15 น. ถวายเพลิงจริง สรีรสังขารพระเทพวิทยาคม(หลวงพ่อคูณ ปริสุทฺโธ) ณ ฌาปนสถาน ชั่วคราววัดหนองแวง พระอารามหลวง ณ บริเวณด้านหลังพุทธมณฑลอีสาน จ.ขอนแก่น (ประธานในพิธี คือ พระเถระชั้นผู้ใหญ่จำนวน 2 รูป)
The crematorium for Luang Phor Koon Paritsuttho’s funeral in Khon Kaen province.
The mythical Nok Hassadeelink bird which the faithful believe will fly the monk's soul to heaven.
๓๐ มกราคม ๒๕๖๒ ครบรอบ ๘ ปี ของการละสังขารพ่อแม่ครูจารย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน แม่ทัพธรรมสายกรรมฐาน ท่านเป็นผู้เด็ดเดี๋ยวในพระธรรมวินัย และการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน
วันที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๕๔ เวลา ๐๓.๕๓ นาที หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ละสังขารอย่างสงบที่กุฏิ สิริอายุ ๙๗ ปี ๕ เดือน ๑๘ วัน ๗๗ พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ พระราชทานโกศโถ และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จฯแทนพระองค์ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ และมีพิธีพระราชทานเพลิงศพวันเสาร์ที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔
ประวัตพอสังเขป พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน)
#ชาติกำเนิด
เดิมมีชื่อว่า "บัว โลหิตดี" ท่านเกิดวันที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๖ ณ ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ท่านมีพี่น้องทั้งหมด ๑๖ คนในวัยเด็กท่านเป็นคนที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา โดยได้ทำบุญตักบาตรกับผู้ใหญ่อยู่เสมอ
#อุปสมบท
เมื่อท่านอายุครบอุปสมบทแล้ว บิดาและมารดาของท่านปรารถนาที่จะให้ท่านบวชด้วยหวังพึ่งใบบุญจากการบวชของท่าน แต่ท่านก็ไม่ตอบรับแต่ประการใด ซึ่งทำให้บิดาและมารดาของท่านถึงกับน้ำตาไหล ด้วยเหตุนี้ทำให้ท่านกลับมาพิจารณาถึงการออกบวชอีกครั้ง ในที่สุดจึงได้ตัดสินใจที่จะออกบวชโดยท่านได้กล่าวกับมารดาว่า "เรื่องการบวชจะบวชให้ แต่ว่าใครจะมาบังคับไม่ให้สึกไม่ได้นะ บวชแล้วจะสึกเมื่อไหร่ก็สึก ใครจะมาบังคับว่าต้องเท่านั้นปีเท่านี้เดือนไม่ได้นะ" ซึ่งมารดาของท่านก็ตกลงตามที่ท่านขอ
ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ที่วัดโยธานิมิตร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สังกัดคณะธรรมยุต โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยได้ฉายานามว่า "ญาณสมฺปนฺโน" แปลว่า "ถึงพร้อมแล้วด้วยการหยั่งรู้"ท่านมีความเคารพเลื่อมในเรื่องการภาวนาและกรรมฐาน ท่านได้สอบถามวิธีการภาวนาจากพระอาจารย์ของท่านในขณะนั้นและได้รับการแนะนำให้ภาวนาว่า "พุทโธ" ท่านจึงปฏิบัติภาวนาและเดินจงกรมเป็นประจำ
#เรียนปริยัติ
ในระหว่างนั้นท่านเริ่มเรียนหนังสือทางธรรมและศึกษาเกี่ยวกับพุทธประวัติ รวมทั้งพุทธสาวก โดยหลังจากที่พุทธสาวกเหล่านั้นได้รับพระโอวาทจากพระพุทธเจ้าแล้วจะเดินทางไปบำเพ็ญในป่าอย่างจริงจังจนสำเร็จอรหันต์ ทำให้ท่านเกิดความเลื่อมใสและมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติเพื่ออรหัตผลให้จงได้ โดยตั้งสัจอธิษฐานว่า เมื่อเรียนจบเปรียญธรรม ๓ ประโยค แล้วจะออกปฏิบัติกรรมฐานโดยถ่ายเดียว
อย่างไรก็ตาม ท่านยังมีข้อสงสัยว่า ถ้าท่านดำเนินตามแนวทางปฏิบัติตามพระสาวกเหล่านั้น ท่านจะสามารถบรรลุถึงจุดที่ท่านเหล่านั้นบรรลุหรือไม่ รวมทั้งยังสงสัยว่ามรรคผลนิพพานจะมีอยู่เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่ ความสงสัยเหล่านี้ทำให้ท่านมีความมุ่งหวังที่จะได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งท่านมีความเชื่อมั่นว่าท่านอาจารย์มั่นจะสามารถไขปัญหานี้ให้ท่านได้
ท่านเดินทางศึกษาพระปริยัติในหลายแห่ง อาทิ วัดสุทธจินดา จังหวัดนครราชสีมา วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร โดยมีสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) เป็นอาจารย์สอนปริยัติธรรม หลังจากนั้น ท่านได้เดินทางไปเรียนพระปริยัติธรรมที่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ ในเวลานั้นพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านได้อาราธนานิมนต์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เพื่อขอให้ไปจำพรรษาที่จังหวัดอุดรธานี พระอาจารย์มั่นรับนิมนต์นี้และได้เดินทางมาพักที่วัดเจดีย์หลวงเป็นการชั่วคราวจึงทำให้ท่านได้พบกับพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นครั้งแรก ท่านศึกษาทางปริยัติที่วัดแห่งนี้ จนกระทั่ง ท่านสอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรม ๓ ประโยค ในปี พ.ศ. ๒๔๘๔ นับเป็นปีที่ท่านบวชได้ ๗ พรรษา
#ปฏิบัติกรรมฐาน
พ.ศ.๒๔๘๕ หลังจากสำเร็จการศึกษาทางปริยัติ ท่านเดินทางไปจังหวัดนครราชสีมาเพื่อปฏิบัติกรรมฐานได้ระยะหนึ่ง จึงเดินทางไปวัดป่าบ้านโคก ต.ตองโขบ อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร โดยตั้งใจจะไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่น โดยพระอาจารย์มั่นรับท่านเป็นลูกศิษย์และได้พูดขึ้นว่า ...ท่านมาหามรรคผลนิพพานอยู่ที่ไหน? ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ฟ้าอากาศเป็นฟ้าอากาศ แร่ธาตุต่าง ๆ เป็นของเขาเอง เขาไม่ได้เป็นมรรคผลนิพพาน เขาไม่ได้เป็นกิเลส กิเลสจริง ๆ มรรคผลจริง ๆ อยู่ที่ใจ ขอให้ท่านกำหนดจิตจ่อด้วยสติที่หัวใจ ท่านจะเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธรรมของทั้งกิเลสอยู่ภายในใจ แล้วขณะเดียวกัน ท่านจะเห็นมรรคผลนิพพานไปโดยลำดับ...
คำกล่าวนี้ทำให้ท่านเชื่อมั่นว่ามรรคผลนิพพานมีอยู่จริงและเชื่อมั่นในพระอาจารย์มั่นที่พูดไขข้อข้องใจได้ตรงจุดแห่งความสงสัย ท่านรักษาระเบียบวินัยข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ อย่างเคร่งครัด หลังจากศึกษาอยู่กับพระอาจารย์มั่นในพรรษาที่ ๒ ท่านเริ่มหักโหมความเพียรในการปฏิบัติกรรมฐาน จนกระทั่ง ผิวหนังบริเวณก้นช้ำระบมและแตกในที่สุด จนพระอาจารย์มั่นได้เตือนว่า "กิเลสมันไม่ได้อยู่กับร่างกายนะ มันอยู่กับจิต" ซึ่งท่านก็น้อมรับคำเตือนของพระอาจารย์มั่นทันที
อย่างไรก็ตาม ด้วยจริตนิสัยของท่านในเรื่องการภาวนานั้นถูกกับการอดอาหารเพราะทำให้ธาตุขันธ์เบาสบาย การตั้งสติทำสมาธิภาวนาก็ง่าย และช่วยให้การบำเพ็ญจิตภาวนาเจริญขึ้นได้เร็วกว่าขณะที่ออกฉันตามปกติ ถึงแม้จะมีผู้คัดค้านก็ไม่ทำให้ท่านเปลี่ยนใจได้ ด้วยท่านพิจารณาแล้วว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุอดอาหารเพื่อบำเพ็ญจิตตภาวนาได้ แต่ไม่ใช่เพื่อการโอ้อวดหรืออดเพียงอย่างเดียวโดยไม่ฝึกฝนด้านจิตภาวนาเลยซึ่งไม่เกิดประโยชน์อันใด ดังนั้น ท่านจึงใช้อุบายนี้เพื่อบำเพ็ญจิตตภาวนาเรื่อยมา
ในพรรษาที่ ๑๐ ของท่าน ท่านฝึกสมาธิจนมั่นคงหนักแน่นและสามารถอยู่ในสมาธิได้เท่าไหร่ก็ได้ ท่านมีความสุขอย่างยิ่งจากที่จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ท่านติดอยู่ในขั้นสมาธิอยู่ถึง ๕ ปี โดยไม่ก้าวหน้าสู่ขั้นปัญญา จนกระทั่ง พระอาจารย์มั่นจึงให้อุบายเพื่อให้ท่านออกพิจารณาทางด้านปัญญาและเตือนท่านว่า "...สมาธิของพระพุทธเจ้า สมาธิต้องรู้สมาธิ ปัญญาต้องรู้ปัญญา อันนี้มันเอาสมาธิเป็นนิพพานเลย มันบ้าสมาธินี่ สมาธินอนตายอยู่นี่หรือเป็นสัมมาสมาธิ..." ท่านจึงออกจากสมาธิและพิจารณาทางด้านปัญญาต่อไป
ท่านได้บรรลุธรรมขั้นสูงสุดในวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๓ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ เวลา ๕ ทุ่มตรง บนหลังเขาซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวัดดอยธรรมเจดีย์ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
#ก่อตั้งวัดป่าบ้านตาด
ด้วยเหตุที่โยมมารดาของท่านล้มป่วยเป็นอัมพาต ท่านจึงพาโยมมารดาของท่านกลับมารักษาตัวที่บ้านตาดอันเป็นบ้านเกิดของท่าน หลังจากที่โยมมารดาของท่านรักษาตัวหายขาดแล้ว ท่านจึงพิจารณาเห็นว่าโยมมารดาของท่านก็อายุมากแล้ว การจะพาไปอยู่ในถิ่นถุรกันดารเพื่อการปลีกวิเวกห่างจากผู้คนตามนิสัยของท่านก็จะทำให้โยมมารดาท่านลำบาก ประจวบเหมาะกับเวลานั้นชาวบ้านตาดมีความประสงค์อยากให้ท่านตั้งวัดขึ้นที่นั่นเช่นกัน โดยชาวบ้านได้ร่วมกันถวายที่ดินให้เป็นที่ตั้งวัด ดังนั้น วัดป่าบ้านตาดจึงเริ่มก่อตั้งขึ้น ณ หมู่บ้านบ้านตาด ตำบลบ้านตาด อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ประกาศตั้งขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๓ โดยให้ชื่อว่า "วัดเกษรศีลคุณ"
#สมณศักดิ์
วันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๑ เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่ "พระครูญาณวิสุทธาจารย์"
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชญาณวิสุทธิโสภณ สมถวิปัสสนาวิมลอนุสิฐ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัณยวาสี"
วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ "พระธรรมวิสุทธิมงคล สมถวิปัสสนาโกศลธรรมธารี อรรถภาณีสรรพกิจ โสภิตเสฏฐคุณาภรณ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัญญวาสี"
#โครงการช่วยชาติฯ
โครงการช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เนื่องจากท่านเดินทางไปแจกสิ่งของตามโรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดารทำให้ทราบว่าโรงพยาบาลต่าง ๆ มีหนี้สินเป็นอันมากซึ่งเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เปลี่ยนไป อันเป็นผลมาจากวิกฤติทางการเงินของประเทศ ท่านรู้สึกสลดใจเป็นอันมากจึงดำริที่จะช่วยชาติโดยน้อมนำให้ชาวไทยทั่วประเทศร่วมกันบริจาคทองคำ เงินดอลลาร์ เงินสกุลต่างประเทศ และเงินบาท เพื่อช่วยชาติบ้านเมืองที่กำลังประสบสภาวะเศรษฐกิจและสังคมตกต่ำให้ฟื้นฟูและผ่านพ้นไปด้วยดี โดยเงินทองที่ได้มาจากการบริจาคนี้จะยกให้กับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อนำเข้าบัญชีฝ่ายออกบัตร (คลังหลวง) ทั้งหมด
โครงการช่วยชาติ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ได้รับเงินบริจาคเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นเงินจำนวน ๒,๕๐๐ ดอลลาร์สหรัฐ และเริ่มดำเนินโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๑ โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเป็นประธานเปิดโครงการ ที่ สวนแสงธรรม พุทธมณฑลสาย ๓ กรุงเทพฯ ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้มอบเงินเข้าคลังหลวงรวมทั้งสิ้น ๑๕ ครั้ง รวมเป็นทองคำแท่งทั้งสิ้น ๙๖๗ แท่ง จำนวน ๑๒,๐๗๙.๘ กิโลกรัม หรือ ๓๘๘,๐๐๐ ออนซ์ ส่วนเงินตราต่างประเทศประมาณ ๑๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท
#มรณภาพ
หลวงตามหาบัวมีอาการอาพาธลำไส้อุดตัน และมีปอดติดเชื้อมานานกว่า ๖ เดือน คณะแพทย์ได้ถวายการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีการสร้างกุฏิปลอดเชื้อให้แก่หลวงตา แต่อาการอาพาธไม่ดีขึ้น จนเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๐๒.๔๙ น. ตรวจพบสมองของหลวงตาหยุดทำงานใน ต่อมา ตรวจพบม่านตาขยายไม่มีปฏิกิริยาตอบสนองที่ฝ่ามือฝ่าเท้า ออกซิเจนในเลือดมีค่าเท่ากับ ๐ จากนั้นเวลา ๐๓.๕๓ น. ความดันโลหิตมีค่าเท่ากับ ๐ หัวใจหยุดเต้นและหยุดการหายใจ สิริอายุได้ ๙๗ ปี ๕ เดือน ๑๘ วัน ๗๗ พรรษา
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานในพิธีถวายน้ำหลวงสรงศพหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน และทรงวางพวงมาลาหลวง พวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พวงมาลาส่วนพระองค์ และพวงมาลาของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานโกศโถ ฉัตรเบญจา และทรงรับพระพิธีธรรมไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ๗ วัน
#พระราชทานเพลิงสรีระสังขาร
เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๗.๐๐ น. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิง ณ จิตกาธาน วัดเกษรศีลคุณ (วัดป่าบ้านตาด) โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ โดยเสด็จฯ ด้วย และประชาชนจำนวนมากร่วมในงานครั้งนี้ด้วยความอาลัยยิ่ง
ภายหลังการมรณภาพของหลวงตามหาบัว โครงการช่วยชาติยังคงดำเนินต่อไปจนถึงปัจจุบัน โดยได้ทำการมอบสินทรัพย์เข้าคลังหลวงครั้งล่าสุดในนาม “ผ้าป่า ๑๒ เมษา บูชาคุณองค์หลวงตา สืบหน่อต่อแขนง รักษาคลังหลวง” นับเป็นครั้งที่ ๑๙ โดยจำนวนทองแท่งทั้งหมดที่มอบเข้าสู่คลังหลวงรวมทั้งสิ้น ๑,๐๕๓ แท่ง น้ำหนักรวม ๑๓,๐๑๓ กิโลกรัม และเงินดอลลาร์สหรัฐจำนวน ๑๐,๔๕๗,๑๕๙.๖๓ ดอลลาร์สหรัฐฯ (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่www.luangta.com)
Luang Phor Koon learned Buddhism and meditation from revered monks in Nakhon Ratchasima. He made years-long pilgrimages to Laos and Cambodia to further practice meditation and promote Buddhism.
Luang Phor Koon was born in 4 October 1923 (BE 2466). Luang Por Koon was ordained as a monk at the age of 21 years old at Wat Thanon Hak Yai on 5th May 1944 (BE2487). Phra Kru Wichan Dtigit was the preceptor and Phra Kru Atigahn Trong Suk was his dhamma teacher. His monk's name is called "Paritsuttoh".
During the year, at the summer observation vacation, he went to Wat Nong Pho to learn such as Dhamma, Samadhi and Wicha (magic) under the master Luang Phor Daeng. After several years, Luang Phor Koon learnt to cultivate Buddhist practice as well as all forms of spiritual powers from Luang Phor Khang for three years. He had left Luang Phor Khang and decided to go on his own to fulfill the Buddhism faith and help the needy.
Luang Phor Koon went Tudong alone in Laos and Cambodia, remaining in the jungles for 10 years. He returned to Thailand and resided in Wat Banrai. At that time, the temple was in a dilapidated state. There was only one old Sala, Bot and Kuti. He approached the abbot to re-built this temple. The abbot told him that did not have sufficient funds and asked Luang Phor Koon how much money he required to re-build the temple. Luang Phor Koon replied that he needed 3 to 4 million Baht. When the abbot heard that, he told Luang Phor Koon that he was unable to help though it was his duties. Luang Phor Koon asked the villagers and his lay disciples to source for fund. Many people came forward to help. The total fund collected was almost 2 million baht and Wat Banrai was re-built. Luang Phor Koon built numbers of schools, temples and hospitals in Nakorn Ratchasima.
Luang Phor Koon is very good in the wicha (magic) of inserting takrut under the arm of the devotees; these takruts to protect a person from accidents, Kong Grapan (immunity from weapons) giving Metta as well. At old age of he had stopped inserting takrut due to poor health. But he will still meet and bless the devotees who go to Wat Banrai to pay respect to him.
He passed away on 16 May 2015 (2558) at age of 91.
Location: Wat Ban Rai, Nakhon Ratchasima province
Cr. http://www.mybuddha108.com/bio/lp_koon.html
According to the organisers, on Wednesday, after the cremation ceremony, the Royal Thai Navy will transport the monk's ashes in a boat along the Mekong River in Nong Khai province to scatter them at a...
Cr. Bangkok Post
a large crowd on Tuesday continued to pay respect to the monk’s body, which is among the KKU Faculty of Medicine’s 647 “Khru Yai” cadavers placed for Abhidhamma prayers at the KKU Golden Jubilee Convention Hall since Monday, before the royally sponsored cremation rites are held on January 29 for 144 “Khru Yai” cadavers, including that of Luang Phor Koon. The late abbot of Wat Bai Rai in Nakhon Ratchasima’s Dan Khun Thot district will be cremated in a “one-of-a-kind art masterpiece” temporary crematorium erected at Buddhamonton Isan, a religious venue within the Wat Nong Waeng compound in Khon Kaen’s Mueang district.
KKU’s rector assistant for human resources, Jongrak Hong-ngam, in her capacity as head of funeral flower-making for Luang Phor Koon’s cremation, on Tuesday said the university had prepared 800,000 funeral flowers, an amount that was now deemed insufficient by a revised assessment based of the crowd that turned out on Monday night.
Another 200,000 funeral flowers were therefore needed, as one million people were expected to pay respect to the late monk, she said, adding that those wishing to donate the rose-patterned funeral flowers can contact officials at the funeral-flower distribution point in front of the hall. Luang Phor Koon, died at the age of 92 on May 16, 2015. His will donated his body for medical research at KKU and requested that the body be later cremated to avoid a “burden to others” or of anyone taking advantage of his body, as well as preventing conflicts among his disciples.
http://www.nationmultimedia.com/detail/breakingnews/30362733